บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เกณฑ์การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ (Criteria)

การคำนวณขนาดทำความเย็น (Cooling capacity หรือ BTU) ควรเลือกขนาดเครื่อง ปรับอากาศให้เหมาะสมกับห้องที่จะติดตั้ง เพื่อให้ได้ความเย็นที่เหมาะสม เพราะการซื้อเครื่องปรับ อากาศที่มีขนาดใหญ่เกินไปจะส่งผลให้ห้องมีความเย็นมากเกินไปทำให้เครื่อง ต้องเดิน-หยุดบ่อย นอกจากนี้ ราคาเครื่องและ ค่าติดตั้งก็จะสูงตามไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าซื้อเครื่องปรับอากาศ ขนาดเล็กเกินไป การทำความเย็นก็ไม่เพียงพอ และเครื่องก็ต้องทำงานตลอดเวลา ทำให้เครื่อง มีอายุการใช้งานสั้นลง
ดังนั้นควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีความสามารถในการทำความเย็นให้เหมาะสมกับพื้นที่ห้อง โดยใช้ โปรแกรมคำนวณบีทียู (BTU Calculation)
ลักษณะการใช้งาน เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก โดยดูประเภทของห้องว่าเป็นห้องนอน ห้องรับแขก ห้องทำงาน ร้านอาหาร ร้านค้า โรงแรม โรงพยาบาล ฯลฯ

รูปแบบ (ตั้ง-แขวน, ติดผนัง, ตู้ตั้ง, ฝังเพดาน) เลือกรูปแบบของเครื่องปรับอากาศ โดยคำนึงถึงพื้นที่ที่จะทำการติดตั้ง และความสะดวกในการดูแลรักษา (Maintenance) โดยสามารถศึกษาข้อดี-ข้อเสียที่
ประเภทของเครื่องปรับอากาศ

วัตถุดิบที่ใช้ (Material) เนื่องจากคุณภาพของวัตถุดิบ มีผลต่อโดยตรงต่อประสิทธิภาพ การทำงาน และความคงทนของเครื่องปรับอากาศ อีกทั้งในปัจจุบันมีเครื่องปรับอากาศ ให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ จึงไม่เป็นการง่ายที่จะตัดสินใจซื้อได้ทันที ดังนั้นเราจึงควรศึกษา ส่วนประกอบที่สำคัญ เพื่อช่วยในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ
คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ที่นิยมใช้กันอยู่ 3 ประเภทคือ
1. คอมเพรสเซอร์โรตารี่ (Rotary compressor) ทำงานโดยการหมุนของใบพัดความเร็วสูง โดยมีคุณสมบัติคือ การสั่นสะเทือนน้อย เดินเงียบ และมีประสิทธิภาพพลังงานสูง (EER) เหมาะกับ เครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก

ภาพจาก Siam Compressor Industry (SCI)
2. คอมเพรสเซอร์ลูกสูบ (Reciprocating compressor) ทำ งานโดยการใช้กระบอก สูบในการอัดน้ำยา โดยมีคุณสมบัติคือ ให้กำลังสูง แต่มีการสั่นสะเทือนสูง และมีเสียงดัง เหมาะกับเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่
3. คอมเพรสเซอร์แบบสโกรว (Scroll compressor) พัฒนามาจากคอมเพรสเซอร์โรตารี่ ทำงานโดยใบพัดรูปก้นหอย โดยมีคุณสมบัติคือ มีการสั่นสะเทือนน้อย เดินเงียบ และมีประสิทธิ ภาพพลังงานสูงกว่าคอมเพรสเซอร์แบบอื่นๆในระดับเดียวกัน



คอยล์ (Coil) ประกอบด้วยท่อทองแดง และครีบอะลูมิเนียม (Fin) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ในการระบายและดูดซับความร้อน จากอากาศ ดังนั้น ผู้ซื้อจึงควรพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ทำคอยล์ เช่นความหนาของครีบ หรือการเคลือบสารป้องกันการกัดกร่อน เนื่องจากคอยล์ที่มีสภาพดีย่อม ระบายความร้อนได้ดี
ดังนั้นคอยล์ที่ทนทานจึงสามารถยืดอายุการใช้งานเครื่องปรับอากาศ แถมยังช่วยประหยัดพลังงาน ได้อีกด้วย



มอเตอร์พัดลม (Fan motor) เป็นส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการช่วยระบาย และดูด ซับความร้อน มอเตอร์ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศมีอยู่หลายเกรด ดังนั้นผู้ซื้อจึงควรสอบถาม ข้อมูลของมอเตอร์เพื่อประกอบการตัดสินใจ มอเตอร์ที่ดีควรใช้ขดลวดที่ทนความร้อนได้สูง จึงจะทำให้มอเตอร์ทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยที่รอบ (rpm) ไม่ตกซึ่งมีผลต่อการระบายความร้อน และไม่เสียง่ายเนื่องจากความร้อนสูง



ระบบฟอกอากาศ (Air Purifier) ในปัจจุบันผู้ผลิตนิยมติดตั้งระบบฟอกอากาศไว้ใน เครื่อง
ปรับอากาศ เพื่อช่วยทำให้อากาศภายในห้องมีความสะอาดบริสุทธิ์ มากขึ้น ซึ่งระบบฟอกอากาศ
ที่ติดตั้งมา พร้อมเครื่องปรับอากาศมีอยู่ด้วยกันหลายระบบดังนี้
1. การกรอง (Filtration) เป็นการใช้แผ่นกรองอากาศในการดักจับฝุ่นละออง หรืออนุภาค ที่มีขนาดใหญ่กว่าช่องว่างระหว่างเส้นใย โดยที่สิ่งสกปรกจะติดค้างอยู่ที่ไส้กรอง และต้องทำการ เปลี่ยนเมื่อหมดอายุการใช้งาน ตัวอย่างของระบบนี้ก็คือ HEPA (High Efficiency Particulate Air) ซึ่งเป็นการกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุภาคขนาดเล็กถึง 0.05 ไมครอน
ในกรณีที่ต้องการกำจัดกลิ่นในอากาศ จะนิยมใช้แผ่นคาร์บอน (Activated carbon filters) เพื่อดูดซับกลิ่นเช่น กลิ่นควันบุหรี่ กลิ่นอาหารเป็นต้น


2. การดักจับด้วยไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator) เป็นการใช้ตะแกรงไฟฟ้า (Electric grids) ในการดักจับฝุ่นละออง หรืออนุภาค โดยการเพิ่มประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาค ฝุ่นละออง และใช้แผ่นโลหะอีกชุดหนึ่งซึ่งเรียงขนานกันดูดอนุภาคฝุ่นละอองไว้ โดยที่หลัง จากใช้งานไประยะหนึ่งต้องหยุดเครื่องเพื่อทำความสะอาดแผ่นโลหะ
3. การปล่อยประจุไฟฟ้า (Ionizer) เป็นการใช้เครื่องผลิตประจุไฟฟ้า และปล่อยออกมาพร้อม กับลมเย็นเพื่อดูดจับอนุภาคฝุ่นละออง และกลิ่น โดยประจุลบที่ปล่อยออกมาจะทำการดูดจับ อนุภาคฝุ่นละอองและกลิ่น ซึ่งมีโครงสร้างเป็นประจุบวก จนกระทั่งกลุ่มอนุภาคเหล่านั้นรวมตัว กันจนมีขนาดใหญ่ขึ้น และตกลงสู่พื้นห้อง โดยกลุ่มอนุภาคเหล่านั้นจะถูกกำจัดไปพร้อมกับ การทำความสะอาดพื้นห้องตามปกติ ดังนั้นระบบนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีการทำความสะอาดเพราะ
ไม่มีการดักจับโดยใช้แผ่นกรอง แต่เป็นการใช้ปฏิกิริยาทางเคมี
ประจุลบ = ผลิตจากระบบฟอกอากาศ
ประจุบวก = ฝุ่นละออง กลิ่น ควัน เชื้อโรค

การประหยัดไฟฟ้า (Energy Saving) ในปัจจุบันมีเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 วางจำหน่ายอยู่
ในท้องตลาด เพื่อตอบสนองนโยบายการประหยัดการพลังงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งเครื่อง ปรับอากาศเบอร์ 5 จะมีประสิทธิภาพพลังงาน (EER - Energy Efficiency Ratio) สูงกว่า และช่วย ประหยัดพลังงานไฟฟ้า แต่ข้อเสียคือมีราคาสูงกว่าเครื่องปรับอากาศธรรมดา ดังนั้นผู้ซื้อจึงควร เปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กับค่าไฟฟ้าในระยะยาวโดยขึ้นอยู่กับตัวแปร
หลายอย่าง เช่น ส่วนต่างราคา จำนวนปีที่จะใช้งาน จำนวนชั่วโมงที่จะใช้งานต่อวัน เป็นต้น









http://www.pn-interair.com/toknow/toknow_article04.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น