บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของแอร์ เครื่องปรับอากาศ


 ประเภทของแอร์ 
 
ประเภทของ แอร์
เครื่องปรับ อากาศทั่วไปที่ใช้ตามบ้านพักอาศัย และอาคารสำนักงานขนาดเล็ก ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดแบ่งได้เป็น 6 ประเภทใหญ่ๆดังนี้

1) แบบติดผนัง ( Wall type)
2) แบบตั้ง/แขวน ( Ceiling/floor type)
3) แบบตู้ตั้ง ( Package type)
4) แบบฝังเพดาน ( Built-in type)
5) แบบหน้าต่าง (Window type)
6) แบบเคลื่อนที่ ( Movable type)

รูปแบบการใช้งาน ข้อดี และข้อเสีย ของเครื่องปรับอากาศแต่ละประเภทดัังนี้

1) แบบติดผนัง ( Wall type)
 เป็นเครื่องปรับอากาศที่มีรูปแบบเล็กกะทัดรัด เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่น้อย เช่น ห้องนอน ห้องรับแขกขนาดเล็ก

ข้อดี:
• รูปแบบทันสมัย และมีให้เลือกหลากหลาย
• เงียบ
• ติดตั้งง่าย
ข้อเสีย:
• ไม่เหมาะกับงานหนัก เนื่องจากคอยล์เย็นมีขนาดเล็กส่งผลให้คอยล์สกปรก และอุดตันง่ายกว่าคอยล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า


2) แบบตั้ง/แขวน (Ceiling/floor type) เป็น เครื่องปรับอากาศที่เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่ตั้งแต่เล็ก เช่น ห้องนอน ไปจนถึงห้องที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น สำนักงาน ร้านอาหาร ห้องประชุม

ข้อดี:
• สามารถเลือกการติดตั้งได้ทั้งตั้งพื้น หรือแขวนเพดาน
• สามารถใช้งานได้หลากหลาย เข้าได้กับทุกสถานที่
• การระบายลมดี
ข้อเสีย:
• ไม่มีรูปแบบให้เลือกมากนัก


3) แบบตู้ตั้ง ( Package type) เป็น เครื่องปรับอากาศ ที่มีลักษณะคล้ายตู้ มีขนาดสูง และมีกำลังลมที่แรง เหมาะกับบริเวณที่มีคนเข้าออกอยู่ตลอดเวลา เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร

ข้อดี:
• ติดตั้งง่าย โดยสามารถตั้งกับพื้นได้เลย ไม่ต้องทำการยึด
• ทำความเย็นได้เร็วเนื่องจากมีเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดลมที่ใหญ่ ซึ่งให้กำลังลมที่แรงกว่า
ข้อเสีย:
• เสียพื้นที่ใช้สอย


4) แบบฝังเพดาน ( Built-in type) เป็น เครื่องปรับอากาศที่เน้นความสวยงามโดยการซ่อน หรือฝังอยู่ใต้ฝ้าหรือเพดานห้อง เหมาะกับห้องที่ต้องการเน้นความสวยงาม โดยที่ต้องการให้เห็นเครื่องปรับอากาศน้อยที่สุด

ข้อดี:
• สวยงาม โดยสามารถทำตู้ซ่อน หรือ ฝังเรียบไว้บนเพดานห้อง
ข้อเสีย:
• ติดตั้งยาก เนื่องจากต้องทำการฝังเข้าตู้ หรือเพดานห้อง
• การดูแลรักษาทำได้ไม่ค่อยสะดวก


5) แบบหน้าต่าง ( Window type) เป็น เครื่องปรับอากาศที่รวมทั้ง คอนเดนซิ่ง ยูนิต และ แฟนคอยล์ ยูนิต อยู่ในเครื่องเดียว ซึ่งสามารถติดตั้งโดยการฝังที่กำแพงห้องได้เลย โดยที่ไม่ต้องเดินท่อน้ำยา ดังนั้นการติดตั้งจึงต้องติดตั้งบริเวณช่องหน้าต่างหรือเจาะช่องที่ผนังแข็ง แรง

ข้อดี:
• ประหยัดพื้นที่เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต
• ติดตั้งง่ายเพราะไม่ต้องเดินท่อน้ำยา
• ประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูงกว่าแบบอื่นๆ เนื่องไม่มีการเดินท่อน้ำยา ทำให้ไม่มีความร้อนแทรกซึมตามท่อน้ำยา
ข้อเสีย:
• มีเสียงดังจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์ และทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนของตัวเครื่องและผนัง
• ถ้าเครื่องมีขนาดขนาดใหญ่เกินไปจะมีปัญหาในการติดตั้ง เพราะบริเวณเพราะบริเวณช่องหน้าต่างไม่สามารถรับน้ำหนักมากได้


6) แบบเคลื่อนที่ ( Movable type) เป็นเครื่องปรับอากาศที่ไม่ต้องทำการติดตั้ง และสามารถเข็นไปใช้ได้ทุกพื้นที่ พูดง่ายๆก็คือสามารถเสียบปลั๊กใช้ได้เลย

ข้อดี:
• ขนาดกะทัดรัด
• ไม่ต้องติดตั้ง
• สามารถเข็นไปได้ใช้ได้ทุกพื้นที่ ทั้งในห้อง และกลางแจ้ง
ข้อเสีย:
• ใช้ได้กับห้องที่มีขนาดใหญ่ไม่มาก
• ประสิทธิภาพการทำความเย็นต่ำกว่า เนื่องจากเป็นระบบเปิดเมื่อนำไปใช้กลางแจ้ง
http://www.airhomemart.com/default.aspx?pageid=97

สาระน่ารู้สำหรับเครื่องปรับอากาศ

สาระน่ารู้สำหรับเครื่องปรับอากาศ
1. ประเภทของเครื่องปรับอากาศ
2. การเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับพื้นที่
3. ค่าใช้จ่ายพลังงานในการใช้งาน
4. ควรมีระบบฟิลเตอร์และกรองอากาศ
5. ควรมีฉลากรับรอง
6. ระบบเครื่องปรับอากาศ
7. การเลือกสถานที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
8. ข้อแนะนำการใช้งาน
9. การบำรุงรักษา
10. ความรู้เรื่องวิธีประหยัดไฟ
1. ประเภทของเครื่องปรับอากาศ
1. แบบเคลื่อนที่ (Portable) BTU 6000-15000

2. แบบติดผนัง (Wall Type) BTU 9000-36000

3. แบบตั้งพื้น/แขวนใต้ฝ้า (Floor&Ceiling Type) BTU 12000-60000

4. แบบสี่ทิศทาง (Cassette Type) BTU 12000-60000

5. แบบเปลือยฝังในฝ้า (Duct Type) BTU 12000-60000

6. แบบตู้ตั้ง (Floor Standard) BTU 25000-60000

2. การเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับพื้นที่
ตารางการเลือกเครื่องปรับอากาศ

BTU คือ ขนาดความสามารถในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ (British Thermal Unit มีหน่วยดังนี้ ความเย็น = 12,000 BTU/ชั่วโมง)

3. ค่าใช้จ่ายพลังงาน ในการใช้งาน
      เครื่องปรับอากาศเป็น อุปกรณ์ไฟฟ้าพลังงานมาก และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นเราจึงควรทำความเข้าใจกับเรื่องของค่าใช้จ่ายพลังงาน เพื่อนำไปใช้พิจารณาประกอบการเลือกซื้อให้ตรงตามความจำเป็นในการใช้งานจริงๆ
4. ควรมีระบบฟิลเตอร์และกรองอากาศ
ชนิดการกรอง
คุณสมบัติ
อายุการใช้งาน
การทำความสะอาด
กรองหยาบ
กรองฝุ่นขนาดกลางถึงรูปร่างขนาดใหญ่, ครอบคลุมทั่วแผงคอยล์เย็น วัสดุส่วนใหญ่ทำจากพลาสติก
ตลอดอายุการใช้งาน
ล้างน้ำได้
กรองละเอียด
กรองฝุ่นขนาดเล็ก บางยี่ห้อสามารถที่จะดักจับเชื้อแบคทีเรีย หรือสารก่อภูมิแพ้ได้
ประมาณ 3-6 เดือน
ไม่สามารถล้างน้ำได้
กรองกลิ่น
ส่วนใหญ่จะทำมาจากคาร์บอน หรือผงถ่าน จึงสามารถกรองกลิ่นได้ ในบางยี่ห้อสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราได้
ประมาณ 3-6 เดือน
ไม่สามารถล้างน้ำได้
กรองแบบไฟฟ้าสถิตย์
อาศัยอำนาจไฟฟ้าสถิตย์ ทำการดึงดูดและกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราได้
ตลอดอายุการใช้งาน
ไม่สามารถล้างน้ำได้
** เครื่องฟอกอากาศที่มีระบบฟอกอากาศแบบไฟฟ้าสถิตย์ จะยังคงมีแผ่นกรองอากาศแบบหยาบอยู่ เพื่อเป็นการกรองฝุ่นขนาดใหญ่ก่อนที่จะผ่านระบบไฟฟ้าสถิตย์

5. ควรมีฉลากรับรอง
ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
     เพื่อรับรองว่าเป็นเครื่องปรับอากาศ ที่มีค่าประสิทธิภาพทำความเย็น ตามที่กำหนดไว้คือ 11.0 หรือมากกว่า โดยได้รับการรับรองจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)


ฉลาก มอก.
     ฉลากรับรองคุณภาพจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยจะมีฉลากรับรอง 2 ตัว ได้แก่

     มอก. 1155 (มาตรฐานทั่วไป)
     มอก. 2134 (ประหยัดพลังงาน)


ฉลาก ภาษีสรรพสามิต
     คือฉลากที่ติดรับรองว่า ได้ผ่านการเสียภาษีในส่วนอุปกรณ์ระบายความร้อนแล้ว ดังนั้นจึงมั่นใจว่า เป็นสินค้าที่ส่งตรงจากโรงงานผู้ผลิต

6. ระบบเครื่องปรับอากาศ
มีอยู่ 2 ระบบ คือ แบบธรรมดา และแบบ INVERTER
ระบบอินเวอร์เตอร์
     คือ ระบบที่นำเอาความรู้ทางด้านอิเลคทรอนิกส์ที่ควบคุมการทำงานด้วยคำสั่ง จากไมโครคอมพิวเตอร์ที่สั่งงานโดยตรงจากรีโมทคอนโทรน และนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้ควบคุมการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงาน ปรับอุณหภูมิ ควบคุมความชื้น ควบคุมความเย็น ให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้คำสั่งจากโมโครคอมพิวเตอร์

ระบบอินเวอร์เตอร์ทำงานอย่างไร
ในการทำงานของระบบ หลังจากที่เดินระบบให้แอร์คอนดิชั่นเนอร์ทำงานแล้ว ไมโครคอมพิวเตอร์ก็จะทำการตรวจสอบอุณหภูมิโดนทันที แล้วเลือกการทำงานเองว่าจะทำงานอย่างไรโดยการประมวลผลคำสั่งจากที่เราสั่ง การทำงานให้แอร์คอนจากรีโมทคอนโทรน ทำการตรวจสอบ และเลือกการทำงานเองว่าจะทำอย่างไร จะทำความเย็น จะไล่ระบบความชื้นในห้อง หรือ ฯลฯ ได้โดยอัตโนมัติ โดยขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละยี่ห้อนั้นๆว่ามีเซนเซอร์ใช้ตรวจสอบการทำ งานอะไรบ้าง

ประหยัดไฟได้อย่างไร
เพราะว่าผลจากการทำงานของระบบอินเวอร์เตอร์ มีผลต่อการควบคุมอุณหภูมิโดยตรงภายในห้องต่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ทำให้ไมโครคอมสั่งการเปลี่ยนความถี่ของไฟฟ้าที่ป้อนให้กับมอเตอร์ คอมเพรสเซอร์อยู่ตลอดเวลา มีผลทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์ลดลง ส่งผลให้ปริมาตรการดูดน้ำยาลดลง การกินไฟของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้เราสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ แม่ว่ามอเตอร์จะทำงานอยู่ก็ตามแต่ก็เป็นการทำงานตามคำสั่งของไมโคร คอมพิวเตอร์ที่ควบคุมความถี่ของไฟฟ้าเท่านั้น

ต่างกับระบบเดิมตรงไหน
นอกจากการทำงานจะสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้แล้วดังที่กล่าวข้างต้นแม้ ว่า การทำงานของคอมเพรสเซอร์จะทำงานอยู่ตลอดเวลาด้วยความเร็วรอบที่ช้าลงอันเป็น ผลจากการควบคุมความถี่ไฟฟ้าจากการทำงานโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ชึ่งเป็นผลจากการประมวลผลของไมโครคอมพิวเตอร์ และก็ธรรมดาที่อุปกรณ์ภายในตัวคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้ย่อมแตกต่างจากคอมแบบเดิม ไปบ้างด้วยหลักการดังกล่าว โดยที่ระบบเดิมใช้การควบคุมการทำงานโดยการควบคุมแบบเทอร์โมสตั๊ด ควบคุมการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ และทำงานด้วยความถี่ไฟฟ้าเดียวตลอด ทำให้การกินกระแสไฟฟ้ามากตามไปด้วย ซึ่งแตกต่างจากระบบอินเวอร์เตอร์ที่มีการกินของกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตาม ความถี่ของไฟฟ้า โดยการควบคุมการทำงานของไมโครคอมพิวส์เตอร์ที่ใช้ในการควบคุมความถี่ไฟฟ้า และสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้ ด้วยหลักการทำงานดังกล่าว

7. การเลือกสถานที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
เมื่อเลือกตำแหน่งและสถานที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมแล้ว ให้ปฏิบัติตามคำชี้แจงต่อไปนี้
หลักทั่วไป
ไม่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศในที่ที่อาจเชื่อมต่อกับสารเคมีดังต่อไปนี้
o ก๊าซไวไฟ
o โซลีน
o น้ำมันเครื่อง
o ก๊าซซัลไฟด์
o สภาวะแวดล้อมไม่ปกติ

ชุดปรับอากาศ (Free coil unit)
· ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางอยู่ใกล้ทางอากาศเข้าและออก
· ติดตั้งตัวเครื่องภายในบนพื้นที่สามารถรับน้ำหนักได้
· เลือกตำแหน่งที่สามารถส่งผ่านท่อและสายไฟเพื่อง่ายต่อการเชื่อมของชุดระบายความร้อน โดยระยะทางที่เหมาะสมประมาณ 5 เมตร
· เว้นระยะห่างพอสมควรที่ตัวเครื่องภายในจะสามารถถอดแผ่นกรองออกได้โดยปราศจากสิ่งกีดขวาง
· เว้นระยะห่างที่เหมาะสมของตัวเครื่องภายในไว้ตามคำชี้แจง
· ตรวจสอบการไหลของน้ำจากท่อระบายน้ำให้ไหลออกได้สะดวก

ชุดระบายความร้อน (Condensing Unit)
· ต้องไม่ติดตั้งชุดระบายความร้อนกลับด้าน เพราะน้ำมันเครื่องของเครื่องสูบอาจจะไหลสู่วงจรไฟฟ้าทำความเย็นและก่อให้ เกิดความเสียหายแก่เครื่อง
· เลือกที่ตั้งที่แห้งและสว่างไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรงหรือลมแรงๆ
· ไม่กีดขวางทางเดินหรือการทำกิจกรรมต่างๆ
· เลือกที่ตั้งเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้เสียงเครื่องปรับอากาศรบกวนเพื่อนบ้าน
· ติดตั้งชุดระบายความร้อนไว้ที่ผิวเรียบเสมอกัน และแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของเครื่องและไม่ก่อให้เกิดเสียงและการสั่นสะเทือน
· ตำแหน่งของชุดระบายความร้อนต้องหันให้ทิศทางการไหลของอากาศตรงไปทางข้างนอก โดยดูจากลูกศรบนตัวเครื่อง
· หากติดตั้งชุดระบายความร้อนในที่สูงให้ตรวจสอบที่ตั้งให้มั่นคงก่อน
· ตรวจสอบว่าการไหลของน้ำจากท่อระบบน้ำ ไหลออกได้สะดวก

8. ข้อแนะนำการใช้งาน
· ตั้งอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไปจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ และสิ้นเปลืองไฟฟ้า
· ทำความสะอาดแผงกรองอากาศบ่อยๆ ถ้าแผ่นกรองอากาศอุดตัน ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจะลดลง ทำให้เปลืองค่าไฟฟ้า
· หลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์และลมโดยตรง ระหว่างการทำความเย็น ให้ปิดม่านหรือมู่ลี่กันแสงอาทิตย์ ปิดหน้าต่างและประตูให้สนิท เว้นแต่เวลาระบายอากาศ
· ปรับทิศทางการไหลเวียนของอากาศให้ถูกต้อง ปรับทิศทางการไหลเวียนของอากาศขึ้น/ลง หรือ ซ้าย/ขวา เพื่อให้อุณหภูมิเท่ากันทุกห้อง
· เปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อจำเป็นเท่านั้น ควรใช้ปุ่มตั้งเวลาเพื่อให้เครื่องทำงานเฉพาะเมื่อจำเป็น
· ทำให้เกิดความร้อนน้อยที่สุด ขณะที่เครื่องปรับอากาศทำงานพยายามหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดความร้อนภายในห้อง

9. การบำรุงรักษา
ก่อนการบำรุงรักษา
· ปิดสวิทซ์ก่อน
· อย่าใช้น้ำเช็ด เพราะอันตรายอาจทำให้ไฟดูด, เช็ดเครื่องปรับอากาศด้วยผ่นุ่มและแห้ง
· อย่าใช้สิ่งต่อไปนี้

o น้ำร้อน เพราะจะทำให้สภาพหรือสีของเครื่องเปลี่ยนไป
o น้ำมันเบนซิน, ทินเนอร์, สารเบนซินหรือน้ำยาขัดเงา จะทำให้เครื่องเปลี่ยนสภาพ และเกิดรอยขีดข่วน

ระหว่างฤดูกาลใช้งานปกติ
การทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ควรทำความสะอาดทุกสองสัปดาห์เป็นมาตรฐาน
1. ถอดแผ่นกรองอากาศ
o เปิดตะแกรงดูดอากาศขึ้นประมาณ 60 องศา
o จับปุ่มที่แผ่นกรองอากาศ และยกขึ้นเล็กน้อยเพื่อดึงออก

2. ทำความสะอาด ถ้าแผ่นกรองสกปรกมากให้ล้างด้วยน้ำอุ่น แล้วทำให้แห้งสนิท
ระวัง
o อย่าล้างแผ่นกรองด้วยน้ำเดือด
o อย่าทำให้แห้งด้วยการอิงไฟ
o ดึงแผ่นกรองเบาๆ

3. ใส่แผ่นกรองอากาศเข้าไปใหม่
o จับแผ่นกรองอากาศให้แน่นทั้งสองข้าง และใส่กลับเข้าไปให้แน่นหนา
o ถ้าเครื่องปรับอากาศทำงานทำงานโดยไม่มีแผ่นกรองอากาศ จะทำให้เครื่องมีฝุ่นสกปรก และเกิดความเสียหาย

การทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ
1. เช็ดเครื่องด้วยผ้านุ่ม ที่แห้งหรือใช้เครื่องดูดฝุ่น
2. ถ้าเครื่องสกปรกมาก ให้เช็ดด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น

ระวัง
     ประสิทธิภาพการทำความเย็น/ความร้อน อาจได้รับผลเนื่องจากแผ่นกรองอากาศสกปรก และยังทำให้เกิดความเสียงดังมากขึ้น อีกทั้งสิ้นเปลืองไฟฟ้า จึงควรทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศตามระยะเวลาที่เหมาะสม ทุก 3-6 เดือน

10. ความรู้เรื่องวิธีประหยัดไฟ
1. การปรับห้องให้ถูกทิศทาง ควรคำนึงถึงการเปิดรับแสงทางทิศเหนือ และกันแสงแดดด้านทิศตะวันตกและทางทิศใต้
2. การปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้บ้านร่มเย็น การปลูกต้นไม้ใหญ่ทางด้านทิศตะวันตกและต้นไม้รอบๆบ้าน เพื่อให้ผนังหลังคาช่องแสงถูกแดดน้อยที่สุด (ต้นไม้ใหญ่ 1 ต้น เทียบได้กับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน)
3. ให้บ้านได้รับแสงธรรมชาติ ยอมให้ลมพัดผ่าน ควรมีหน้าต่างและติดตั้งช่องแสงให้บ้านได้รับแสงธรรมชาติในทิศทางที่ดี และไม่ควรมีแสงแดดเข้ามาในบ้าน เช่น ทิศเหนือ
4. ควรติดตั้งฉนวนป้องกันความร้อน ใต้หลังคาบ้านหรือจุดที่ได้รับแสง เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนเข้ามาในบ้าน
5. ปรับที่และไม่สร้างแหล่งความร้อน ปรับพื้นที่การใช้สอยของตัวเราให้สอดคล้องกับตัวเรา หาทิศทางลมธรรมชาติ
· ลมหน้าร้อน พัดมาจากทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้
· ลมหน้าหนาว พัดมาจากทิศเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
(ข้อมูลจาก คู่มือการขายเครื่องปรับอากาศ ปี 2550 : ชมรมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศ)
http://www.mhomeair.com/contentview.php?contentID=4

หลักการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศ
1 ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีสลากประหยัดไฟ โดยเป็นสติกเกอร์ติดอยู่ที่เครื่องปรับอากาศ ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองคุณภาพ โดยกำหนดเป็นตัวเลขดังนี้
 แอร์บ้าน
       
  เลข 5 ดีมาก
หมายถึง
ประสิทธิภาพสูงสุด
  เลฃ 4 ดี
หมายถึง
ประสิทธิภาพสูง
  เลข 3 ปานกลาง
หมายถึง
ประสิทธิภาพปานกลาง
  เลข 2 พอใช้
หมายถึง
ประสิทธิภาพพอใช้
  เลข 1 ต่ำ
หมายถึง
ประสิทธิภาพต่ำ
   
 
2 ควรเลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับห้องที่ต้องการติดตั้ง โดยที่ความสูงของห้องไม่เกิน 3 เมตร ควรเลือกขนาดตามตารางต่อไปนี้

พื้นที่ห้องตามความสูงไม่เกิน 3 ม.
(ตร.ม.)
ขนาดของเครื่องปรับอากาศ
(บีทียู/ชั่วโมง)
13 - 14
7,000 - 9,000
16 - 17
9,000 - 12,000
20
11,000 - 13,000
23 - 24
13,000 - 16,000
30
18,000 - 20,000
40
24,000

3. ชนิดของเครื่องปรับอากาศที่นิยมใช้ในบ้านอยู่อาศัย ในปัจจุบันมีจำหน่ายในท้องตลาด 3 ชนิด คือ
3.1ชนิดติดหน้าต่าง จะเหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะที่ติดตั้งวงกบหน้าต่าง ติดกระจกช่องแสงติดตาย บานกระทุ้ง บานเกล็ด เป็นต้น มีขนาดตั้งแต่ 9,000 – 24,000 บีทียู/ชม. มีค่าประสิทธิภาพ (EER=บีทียูต่อชั่วโมง/วัตต์) ตั้งแต่ 7.5 – 10 บีทียู/ชม./วัตต์
3.2 ชนิดแยกส่วนติดฝาผนังหรือแขวน เหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะทึบจะติดตั้งได้สวยงาม แต่จะมีราคแพงกว่าเมื่อเปรียบเทียบเครื่องปรับอากาศชนิดต่าง ๆ ที่มีขนาดเท่ากัน (บีทียู/ชม.) เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า และจะมีสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติแบบอิเลกคทรอนิกส์สำหรับควบคุมอุณหภูมิความเย็นของห้อง มีขนาดตั้งแต่ 8,000 – 24,000 บีทียู/ชม. ค่า EER ตั้งแต่ 7.5 – 13 บีทียู/ชม./วัตต์
3.3 เครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วนตั้งพื้น จะเหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะห้องที่เป็นกระจกทั้งหมด ผนังทึบซึ่งไม่อาจเจาะ ช่องเพื่อติดตั้งได้ เมื่อเปรียบเทียบเครื่องปรับอากาศชนิดต่าง ๆ ที่มีขนาดเท่ากัน เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า มีขนาดตั้งแต่ 12,000 – 36,000 บีทียู/ชม. มีค่า EER ตั้งแต่ 6 – 11 บีทียู/ชม./วัตต์

วิธีใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัดพลังงาน
1.ติดตั้งในที่เหมาะสม คือต้องสูงจากพื้นพอสมควร สามารถเปิด-ปิดปุ่มต่าง ๆ ได้สะดวก และเพื่อให้ความเย็นเป่าออกจากเครื่องได้หมุนเวียนภายในห้องอย่างทั่วถึง
2.อย่าให้ความเย็นรั่วไหล ควรจะปิดประตูหรือหน้าต่างห้องให้มิดชิด
3.ปรับปุ่มต่าง ๆ ให้เหมาะสมเมื่อเริ่มเปิดเครื่องควรตั้งความเร็วพัดลมไปที่ตำแหน่งสูงสุด เมื่อความเย็นพอเหมาะแล้วให้ตั้งไปที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส
4.หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ และตะแกรง รวมทั้งชุดคอมเดนเซอร ์เพื่อให้อากาศผ่านเข้าออกได้สะดวกจะประหยัดไฟโดยตรง
5.ใช้พัดลมระบายอากาศเท่าที่จำเป็น
6.ควรปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้
7.ในฤดูหนาวขณะที่อากาศไม่ร้อนมากเกินไป ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ
8.หมั่นตรวจสอบ ล้าง ทำความสะอาดตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนด
9.หน้าต่างหรือบานกระจกควรป้องกันรังสีความร้อนที่จะเข้ามาดังนี้
- ใช้อุปกรณ์บังแดดภายนอกมิให้กระจกถูกแสงแดด เช่น ผ้าใบ หรือแผงบังแดด หรือร่มเงาจากต้นไม้
- ใช้กระจกหรือติดฟิล์มที่สะท้อนรังสีความร้อน
- ใช้อุปกรณ์บังแดดภายใน เช่น ผ้าม่าน มู่ลี่ (กระจกด้านทิศใต้ให้ใช้ใบอยู่ในแนวนอน กระจกทิศตะวันออก-ตกให้ใช้ใบที่อยู่ในแนวดิ่ง)
10.ผนังหรือเพดานโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านที่มีแสงแดดส่องจะเก็บความร้อนไว้มาก ทำให้มีการสูญเสียพลังงานมาก จึงควรป้องกันดังนี้
- บุด้วยฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นฟิล์มอะลูมิเนียมสะท้อนรังสีความร้อน
- ทำที่บังแดด/หลังคา/ปลูกต้นไม้ด้านนอก
11.พยายามอย่าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ไฟส่องสว่างก็เป็นตัวให้ความร้อน จึงควรปิดไฟเมื่อไม่มีความจำเป็น
12.ชุดคอนเดนเซอร์ที่ใช้ระบายความร้อนสู่ภายนอก
- ควรถูกแสงแดดให้น้อยที่สุด
- ขจัดสิ่งกีดขวางทางลมให้ระบายอากาศได้สะดวก
- อย่าติดตั้งให้ปะทะกับลมธรรมชาติโดยตรง

คำแนะนำด้านความปลอดภัยของเครื่องปรับอากาศ
1.ควรต่อระบบสายดินกับเครื่องปรับอากาศและทดสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟ
2.เครื่องตัดไฟรั่วขนาดไม่เกิน 30 mA. หากป้องกันวงจรของเครื่องปรับอากาศด้วย อาจมีปัญหาเครื่องตัดไฟรั่วทำงานบ่อยขึ้น ควรหลีกเลี่ยงโดยการแยกวงจรออก และใช้ขนาด 100 mA. ป้องกันอีกชั้นหนึ่ง
3.ติดตั้งเบรกเกอร์หรือสวิตซ์อัตโนมัติและควบคุมวงจรโดยเฉพาะ
4.กรณีมีไฟตกหรือไฟดับ ถ้าไม่มีสวิตซ์ปลดสับเองโดยอัตโนมัติต้องรีบปิดเครื่องทันทีก่อนที่จะมีไฟมา และควรรอระยะเวลาประมาณ 3-5 นาที ก่อนที่จะสับสวิตซ์เข้าใหม่
5.หมั่นตรวจสอบขั้วและการเข้าสายของจุดต่อต่าง ๆ อยู่เสมอ
6.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
http://www.mea.or.th/apd/5/main.htm

เครื่องปรับอากาศระบบ Inverter เทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดไฟได้จริงหรือ?


เครื่องปรับอากาศระบบ Inverter เทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดไฟได้จริงหรือ?

ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด
ทั้งในเรื่องความเย็น ความทนทาน รวมถึงการประหยัดพลังงาน ระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ถือว่าเป็นเทคโนโลยีล่าสุด
ของเครื่องปรับอากาศใช้ภายในบ้าน และออฟฟิศที่สามารถช่วยประหยัดพลังงานมากกว่าเครื่องปรับอากาศที่ได้ประหยัด ไฟเบอร์ 5 ไปอีกขั้น
ระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) คือ เทคโนโลยีล่าสุดของระบบปรับอากาศ ซึ่งจะทำงานจ่ายแปลงกระแสไฟฟ้าในเครื่องปรับ
อากาศ ช่วยควบคุมความเร็วรอบ ควบคุมกำลังไฟฟ้า และมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ (Motor Compressor) ปรับเปลี่ยนการทำงานของกระแสไฟฟ้า อุปกรณ์ และคอมเพรสเซอร์ (Compressor) ให้เหมาะสมกับอุณหภูมิที่ได้ตั้งไว้ภายในห้องล่วงหน้าตลอดเวลา ช่วยประหยัดพลังงานได้ดีกว่า คอมเพรสเซอร์ชนิดโรตารี่ (Rotary Compressor) แบบทั่วไปคือ ติด-ดับ  (การควบคุมความเย็นเครื่องปรับอากาศในปัจจุบันจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เทอร์โมสตัท (Thermo Stat) ในการควบคุมอุณหภูมิและกำหนดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ (Compressor) ตามอุณหภูมิที่ได้กำหนดค่าจากผู้ใช้ไว้ เมื่ออุณหภูมิได้ถึงจุดที่ตั้งไว้ เครื่องจะตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ (Compressor) ซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก ใช้กระแสไฟฟ้ามาก และใช้พลังงานสูงในการทำอุณหภูมิให้ได้ตามที่ตั้งไว้)
นอก จากนี้ ระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ยังช่วยทำให้ผู้อยู่ในห้องปรับอากาศได้รับความสะดวกสบาย ช่วยควบคุมอุณหภูมิให้คงที่และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพจึงทำให้การทำ งานของเครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ถึงอุณหภูมิที่ต้องการได้รวดเร็ว เพราะออกแบบมาให้ปรับการทำงานและออกแบบให้คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำงาน
อย่างต่อเนื่อง รักษาความสะดวกสบายทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 30% เมื่อเทียบกับเครื่องปรับอากาศทั่วไป เทคโนโลยีแบบอินเวอร์เตอร์ (inverter) นี้ช่วยประหยัดมากกว่าและยังมีประสิทธิภาพในการใช้งานและทำงานเงียบกว่า เครื่องปรับอากาศทั่วไป อุณหภูมิที่คงที่ และการทำงานที่เงียบ มีเสถียรภาพ ช่วยให้เข้าถึง

อุณหภูมิ ที่ต้องการรวดเร็วกว่าเครื่องปรับอากาศธรรมดา เครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) มีการออกแบบให้เครื่องหน่วยภายนอก (Condensing Unit) ทำงานรวดเร็วเหมาะสม จึงช่วยให้การทำงานของหน่วยภายใน (Fancoil Unit) มี
ประสิทธิภาพสูงกว่าถึง 30% ลดการใช้กระแสไฟฟ้าจากการใช้เทคโนโลยี และการทำงานของอุปกรณ์ที่ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพ ทำให้การตั้งอุณหภูมิและการทำงานที่เหมาะสม ประหยัดไฟได้มากกว่าเครื่องปรับอากาศทั่วไป ภายในช่วงการ
ทำงานจากสูงสุดไปต่ำสุดนอกจากนั้นการทำงานของเครื่องปรับอากาศยังช่วยให้สอด คล้องกับการทำงาน โดยมีปัจจัยจากอุณหภูมิห้องและจำนวนคนภายในห้องปรับอากาศโดยการออกแบบและ เพิ่มประสิทธิภาพของคอมเพรสเซอร์(Compressor) โดยการรักษาประสิทธิภาพช่วงความเร็วต่ำถึงความเร็วสูง และการออกแบบพิเศษ ให้การทำงานของมอเตอร์แบบ DC ตรงกับ
การทำงานที่เป็นส่วนของการโหลด (Load) คือการเปิด-ปิด ของเครื่องปรับอากาศ

 http://www.bkairsupply.com/

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การคำนวณค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ แอร์

การคำนวณค่าไฟฟ้า article

คำนวณแอร์ เบอร์ 5 ที่ EER :10.6 คำนวณที่
คำนวณแอร์   EER :14.98
 1 เดือนมี 30 วัน
ตารางคำนวณ No.4 No.5 EER 10.60 INVERTER EER 14.98 No.4 No.5 EER 10.60 INVERTER EER 14.98
ชั่วโมงที่ใช้
8
12
BTU.
ค่าไฟฟ้า
9000 569 516 365 854 773 547
10000 633 573 405 949 859 608
12000 759 687 486 1139 1031 730
16000 1012 917 649 1518 1375 973
18000 1139 1031 730 1708 1547 1094
20000 1265 1146 811 1898 1718 1216
22000 1392 1260 892 2087 1890 1338
25000 1581 1432 1013 2372 2148 1520
28000 1771 1604 1135 2657 2406 1702
30000 1898 1718 1216 2846 2578 1824
33000 2087 1890 1338 3131 2836 2006
35000 2214 2005 1419 3321 3007 2128
38000 2404 2177 1540 3605 3265 2310
44000 2783 2520 1783 4175 3781 2675
56000 3542 3208 2270 5313 4812 3405
60000 3795 3437 2432 5693 5155 3648
63000 3985 3609 2554 5977 5413 3830
หมายเหตุ
กรณีหน้าร้อนหรือห้องเก็บความเย็นไม่สนิท  แอร์ต้องทำงานหนัก  ค่าไฟอาจเพิ่มสูงขึ้น
กรณีแอร์สกปรกการระบายอากาศไม่ดี กระแส amps สูงขึ้น ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น
กรณีแอร์ผ่านการใช้งานมานาน อุปกรณ์อะไหล่บางชิ้นส่วน หมดอายุ สึกหรอ ค่าไฟอาจสูงขึ้น
กรณีคำนวนห้องไม่ได้ขนาดหรือท่อน้ำยายาวเกินทำให้แอร์ทำงานหนักอายุการใช้งานสั้นลง
 ค่าไฟอาจสูงขึ้น
กรณีไฟฟ้าไม่ครบ  220 โวลล์ แอร์จะกินไฟสูงกว่าปกติ หรือ โวลล์สูง  แอมป์ต่ำ
สนับสนุนข้อมูล   บ.แพนสยามเอ็นจิเนียริ่งจำกัด  เครื่องปรับอากาศ " เซ็นทรัลแอร์ "

 
http://www.topcoolair.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=322059&Ntype=6