บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สาระน่ารู้สำหรับเครื่องปรับอากาศ

สาระน่ารู้สำหรับเครื่องปรับอากาศ
1. ประเภทของเครื่องปรับอากาศ
2. การเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับพื้นที่
3. ค่าใช้จ่ายพลังงานในการใช้งาน
4. ควรมีระบบฟิลเตอร์และกรองอากาศ
5. ควรมีฉลากรับรอง
6. ระบบเครื่องปรับอากาศ
7. การเลือกสถานที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
8. ข้อแนะนำการใช้งาน
9. การบำรุงรักษา
10. ความรู้เรื่องวิธีประหยัดไฟ
1. ประเภทของเครื่องปรับอากาศ
1. แบบเคลื่อนที่ (Portable) BTU 6000-15000

2. แบบติดผนัง (Wall Type) BTU 9000-36000

3. แบบตั้งพื้น/แขวนใต้ฝ้า (Floor&Ceiling Type) BTU 12000-60000

4. แบบสี่ทิศทาง (Cassette Type) BTU 12000-60000

5. แบบเปลือยฝังในฝ้า (Duct Type) BTU 12000-60000

6. แบบตู้ตั้ง (Floor Standard) BTU 25000-60000

2. การเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับพื้นที่
ตารางการเลือกเครื่องปรับอากาศ

BTU คือ ขนาดความสามารถในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ (British Thermal Unit มีหน่วยดังนี้ ความเย็น = 12,000 BTU/ชั่วโมง)

3. ค่าใช้จ่ายพลังงาน ในการใช้งาน
      เครื่องปรับอากาศเป็น อุปกรณ์ไฟฟ้าพลังงานมาก และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นเราจึงควรทำความเข้าใจกับเรื่องของค่าใช้จ่ายพลังงาน เพื่อนำไปใช้พิจารณาประกอบการเลือกซื้อให้ตรงตามความจำเป็นในการใช้งานจริงๆ
4. ควรมีระบบฟิลเตอร์และกรองอากาศ
ชนิดการกรอง
คุณสมบัติ
อายุการใช้งาน
การทำความสะอาด
กรองหยาบ
กรองฝุ่นขนาดกลางถึงรูปร่างขนาดใหญ่, ครอบคลุมทั่วแผงคอยล์เย็น วัสดุส่วนใหญ่ทำจากพลาสติก
ตลอดอายุการใช้งาน
ล้างน้ำได้
กรองละเอียด
กรองฝุ่นขนาดเล็ก บางยี่ห้อสามารถที่จะดักจับเชื้อแบคทีเรีย หรือสารก่อภูมิแพ้ได้
ประมาณ 3-6 เดือน
ไม่สามารถล้างน้ำได้
กรองกลิ่น
ส่วนใหญ่จะทำมาจากคาร์บอน หรือผงถ่าน จึงสามารถกรองกลิ่นได้ ในบางยี่ห้อสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราได้
ประมาณ 3-6 เดือน
ไม่สามารถล้างน้ำได้
กรองแบบไฟฟ้าสถิตย์
อาศัยอำนาจไฟฟ้าสถิตย์ ทำการดึงดูดและกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราได้
ตลอดอายุการใช้งาน
ไม่สามารถล้างน้ำได้
** เครื่องฟอกอากาศที่มีระบบฟอกอากาศแบบไฟฟ้าสถิตย์ จะยังคงมีแผ่นกรองอากาศแบบหยาบอยู่ เพื่อเป็นการกรองฝุ่นขนาดใหญ่ก่อนที่จะผ่านระบบไฟฟ้าสถิตย์

5. ควรมีฉลากรับรอง
ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
     เพื่อรับรองว่าเป็นเครื่องปรับอากาศ ที่มีค่าประสิทธิภาพทำความเย็น ตามที่กำหนดไว้คือ 11.0 หรือมากกว่า โดยได้รับการรับรองจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)


ฉลาก มอก.
     ฉลากรับรองคุณภาพจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยจะมีฉลากรับรอง 2 ตัว ได้แก่

     มอก. 1155 (มาตรฐานทั่วไป)
     มอก. 2134 (ประหยัดพลังงาน)


ฉลาก ภาษีสรรพสามิต
     คือฉลากที่ติดรับรองว่า ได้ผ่านการเสียภาษีในส่วนอุปกรณ์ระบายความร้อนแล้ว ดังนั้นจึงมั่นใจว่า เป็นสินค้าที่ส่งตรงจากโรงงานผู้ผลิต

6. ระบบเครื่องปรับอากาศ
มีอยู่ 2 ระบบ คือ แบบธรรมดา และแบบ INVERTER
ระบบอินเวอร์เตอร์
     คือ ระบบที่นำเอาความรู้ทางด้านอิเลคทรอนิกส์ที่ควบคุมการทำงานด้วยคำสั่ง จากไมโครคอมพิวเตอร์ที่สั่งงานโดยตรงจากรีโมทคอนโทรน และนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้ควบคุมการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงาน ปรับอุณหภูมิ ควบคุมความชื้น ควบคุมความเย็น ให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้คำสั่งจากโมโครคอมพิวเตอร์

ระบบอินเวอร์เตอร์ทำงานอย่างไร
ในการทำงานของระบบ หลังจากที่เดินระบบให้แอร์คอนดิชั่นเนอร์ทำงานแล้ว ไมโครคอมพิวเตอร์ก็จะทำการตรวจสอบอุณหภูมิโดนทันที แล้วเลือกการทำงานเองว่าจะทำงานอย่างไรโดยการประมวลผลคำสั่งจากที่เราสั่ง การทำงานให้แอร์คอนจากรีโมทคอนโทรน ทำการตรวจสอบ และเลือกการทำงานเองว่าจะทำอย่างไร จะทำความเย็น จะไล่ระบบความชื้นในห้อง หรือ ฯลฯ ได้โดยอัตโนมัติ โดยขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละยี่ห้อนั้นๆว่ามีเซนเซอร์ใช้ตรวจสอบการทำ งานอะไรบ้าง

ประหยัดไฟได้อย่างไร
เพราะว่าผลจากการทำงานของระบบอินเวอร์เตอร์ มีผลต่อการควบคุมอุณหภูมิโดยตรงภายในห้องต่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ทำให้ไมโครคอมสั่งการเปลี่ยนความถี่ของไฟฟ้าที่ป้อนให้กับมอเตอร์ คอมเพรสเซอร์อยู่ตลอดเวลา มีผลทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์ลดลง ส่งผลให้ปริมาตรการดูดน้ำยาลดลง การกินไฟของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้เราสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ แม่ว่ามอเตอร์จะทำงานอยู่ก็ตามแต่ก็เป็นการทำงานตามคำสั่งของไมโคร คอมพิวเตอร์ที่ควบคุมความถี่ของไฟฟ้าเท่านั้น

ต่างกับระบบเดิมตรงไหน
นอกจากการทำงานจะสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้แล้วดังที่กล่าวข้างต้นแม้ ว่า การทำงานของคอมเพรสเซอร์จะทำงานอยู่ตลอดเวลาด้วยความเร็วรอบที่ช้าลงอันเป็น ผลจากการควบคุมความถี่ไฟฟ้าจากการทำงานโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ชึ่งเป็นผลจากการประมวลผลของไมโครคอมพิวเตอร์ และก็ธรรมดาที่อุปกรณ์ภายในตัวคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้ย่อมแตกต่างจากคอมแบบเดิม ไปบ้างด้วยหลักการดังกล่าว โดยที่ระบบเดิมใช้การควบคุมการทำงานโดยการควบคุมแบบเทอร์โมสตั๊ด ควบคุมการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ และทำงานด้วยความถี่ไฟฟ้าเดียวตลอด ทำให้การกินกระแสไฟฟ้ามากตามไปด้วย ซึ่งแตกต่างจากระบบอินเวอร์เตอร์ที่มีการกินของกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตาม ความถี่ของไฟฟ้า โดยการควบคุมการทำงานของไมโครคอมพิวส์เตอร์ที่ใช้ในการควบคุมความถี่ไฟฟ้า และสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้ ด้วยหลักการทำงานดังกล่าว

7. การเลือกสถานที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
เมื่อเลือกตำแหน่งและสถานที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมแล้ว ให้ปฏิบัติตามคำชี้แจงต่อไปนี้
หลักทั่วไป
ไม่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศในที่ที่อาจเชื่อมต่อกับสารเคมีดังต่อไปนี้
o ก๊าซไวไฟ
o โซลีน
o น้ำมันเครื่อง
o ก๊าซซัลไฟด์
o สภาวะแวดล้อมไม่ปกติ

ชุดปรับอากาศ (Free coil unit)
· ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางอยู่ใกล้ทางอากาศเข้าและออก
· ติดตั้งตัวเครื่องภายในบนพื้นที่สามารถรับน้ำหนักได้
· เลือกตำแหน่งที่สามารถส่งผ่านท่อและสายไฟเพื่อง่ายต่อการเชื่อมของชุดระบายความร้อน โดยระยะทางที่เหมาะสมประมาณ 5 เมตร
· เว้นระยะห่างพอสมควรที่ตัวเครื่องภายในจะสามารถถอดแผ่นกรองออกได้โดยปราศจากสิ่งกีดขวาง
· เว้นระยะห่างที่เหมาะสมของตัวเครื่องภายในไว้ตามคำชี้แจง
· ตรวจสอบการไหลของน้ำจากท่อระบายน้ำให้ไหลออกได้สะดวก

ชุดระบายความร้อน (Condensing Unit)
· ต้องไม่ติดตั้งชุดระบายความร้อนกลับด้าน เพราะน้ำมันเครื่องของเครื่องสูบอาจจะไหลสู่วงจรไฟฟ้าทำความเย็นและก่อให้ เกิดความเสียหายแก่เครื่อง
· เลือกที่ตั้งที่แห้งและสว่างไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรงหรือลมแรงๆ
· ไม่กีดขวางทางเดินหรือการทำกิจกรรมต่างๆ
· เลือกที่ตั้งเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้เสียงเครื่องปรับอากาศรบกวนเพื่อนบ้าน
· ติดตั้งชุดระบายความร้อนไว้ที่ผิวเรียบเสมอกัน และแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของเครื่องและไม่ก่อให้เกิดเสียงและการสั่นสะเทือน
· ตำแหน่งของชุดระบายความร้อนต้องหันให้ทิศทางการไหลของอากาศตรงไปทางข้างนอก โดยดูจากลูกศรบนตัวเครื่อง
· หากติดตั้งชุดระบายความร้อนในที่สูงให้ตรวจสอบที่ตั้งให้มั่นคงก่อน
· ตรวจสอบว่าการไหลของน้ำจากท่อระบบน้ำ ไหลออกได้สะดวก

8. ข้อแนะนำการใช้งาน
· ตั้งอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไปจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ และสิ้นเปลืองไฟฟ้า
· ทำความสะอาดแผงกรองอากาศบ่อยๆ ถ้าแผ่นกรองอากาศอุดตัน ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจะลดลง ทำให้เปลืองค่าไฟฟ้า
· หลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์และลมโดยตรง ระหว่างการทำความเย็น ให้ปิดม่านหรือมู่ลี่กันแสงอาทิตย์ ปิดหน้าต่างและประตูให้สนิท เว้นแต่เวลาระบายอากาศ
· ปรับทิศทางการไหลเวียนของอากาศให้ถูกต้อง ปรับทิศทางการไหลเวียนของอากาศขึ้น/ลง หรือ ซ้าย/ขวา เพื่อให้อุณหภูมิเท่ากันทุกห้อง
· เปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อจำเป็นเท่านั้น ควรใช้ปุ่มตั้งเวลาเพื่อให้เครื่องทำงานเฉพาะเมื่อจำเป็น
· ทำให้เกิดความร้อนน้อยที่สุด ขณะที่เครื่องปรับอากาศทำงานพยายามหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดความร้อนภายในห้อง

9. การบำรุงรักษา
ก่อนการบำรุงรักษา
· ปิดสวิทซ์ก่อน
· อย่าใช้น้ำเช็ด เพราะอันตรายอาจทำให้ไฟดูด, เช็ดเครื่องปรับอากาศด้วยผ่นุ่มและแห้ง
· อย่าใช้สิ่งต่อไปนี้

o น้ำร้อน เพราะจะทำให้สภาพหรือสีของเครื่องเปลี่ยนไป
o น้ำมันเบนซิน, ทินเนอร์, สารเบนซินหรือน้ำยาขัดเงา จะทำให้เครื่องเปลี่ยนสภาพ และเกิดรอยขีดข่วน

ระหว่างฤดูกาลใช้งานปกติ
การทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ควรทำความสะอาดทุกสองสัปดาห์เป็นมาตรฐาน
1. ถอดแผ่นกรองอากาศ
o เปิดตะแกรงดูดอากาศขึ้นประมาณ 60 องศา
o จับปุ่มที่แผ่นกรองอากาศ และยกขึ้นเล็กน้อยเพื่อดึงออก

2. ทำความสะอาด ถ้าแผ่นกรองสกปรกมากให้ล้างด้วยน้ำอุ่น แล้วทำให้แห้งสนิท
ระวัง
o อย่าล้างแผ่นกรองด้วยน้ำเดือด
o อย่าทำให้แห้งด้วยการอิงไฟ
o ดึงแผ่นกรองเบาๆ

3. ใส่แผ่นกรองอากาศเข้าไปใหม่
o จับแผ่นกรองอากาศให้แน่นทั้งสองข้าง และใส่กลับเข้าไปให้แน่นหนา
o ถ้าเครื่องปรับอากาศทำงานทำงานโดยไม่มีแผ่นกรองอากาศ จะทำให้เครื่องมีฝุ่นสกปรก และเกิดความเสียหาย

การทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ
1. เช็ดเครื่องด้วยผ้านุ่ม ที่แห้งหรือใช้เครื่องดูดฝุ่น
2. ถ้าเครื่องสกปรกมาก ให้เช็ดด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น

ระวัง
     ประสิทธิภาพการทำความเย็น/ความร้อน อาจได้รับผลเนื่องจากแผ่นกรองอากาศสกปรก และยังทำให้เกิดความเสียงดังมากขึ้น อีกทั้งสิ้นเปลืองไฟฟ้า จึงควรทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศตามระยะเวลาที่เหมาะสม ทุก 3-6 เดือน

10. ความรู้เรื่องวิธีประหยัดไฟ
1. การปรับห้องให้ถูกทิศทาง ควรคำนึงถึงการเปิดรับแสงทางทิศเหนือ และกันแสงแดดด้านทิศตะวันตกและทางทิศใต้
2. การปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้บ้านร่มเย็น การปลูกต้นไม้ใหญ่ทางด้านทิศตะวันตกและต้นไม้รอบๆบ้าน เพื่อให้ผนังหลังคาช่องแสงถูกแดดน้อยที่สุด (ต้นไม้ใหญ่ 1 ต้น เทียบได้กับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน)
3. ให้บ้านได้รับแสงธรรมชาติ ยอมให้ลมพัดผ่าน ควรมีหน้าต่างและติดตั้งช่องแสงให้บ้านได้รับแสงธรรมชาติในทิศทางที่ดี และไม่ควรมีแสงแดดเข้ามาในบ้าน เช่น ทิศเหนือ
4. ควรติดตั้งฉนวนป้องกันความร้อน ใต้หลังคาบ้านหรือจุดที่ได้รับแสง เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนเข้ามาในบ้าน
5. ปรับที่และไม่สร้างแหล่งความร้อน ปรับพื้นที่การใช้สอยของตัวเราให้สอดคล้องกับตัวเรา หาทิศทางลมธรรมชาติ
· ลมหน้าร้อน พัดมาจากทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้
· ลมหน้าหนาว พัดมาจากทิศเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
(ข้อมูลจาก คู่มือการขายเครื่องปรับอากาศ ปี 2550 : ชมรมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศ)
http://www.mhomeair.com/contentview.php?contentID=4

1 ความคิดเห็น:

  1. 5 กระบวนการการเลือกซื้อแอร์
    (1/2) > >>. wrice11: แอร์ไดกิ้น DAIKIN 5
    กระบวนการการเลือกซื้อแอร์
    แอร์แคเรียร์ CARRIER แอร์ไดกิ้น
    DAIKIN พวกของ เครื่องปรับอากาศ
    เครื่องปรับอากาศ แอร์บ้าน
    ...


    ขายแอร์บ้าน ใหม่แกะกล่อง Candle air service สายด่วน 086-977 1629 ...
    รับล้างแอร์
    รับล้างเครื่องปรับอากาศ
    ขายส่งแอร์ รับซ่อมแอร์
    รับย้ายแอร์ รับ ...
    ในการสั่งซื้อ และ
    ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
    โดยทีมงาน ช่างแอร์ คุณภาพ
    ที่มีประสบการณ์เรื่องการ
    ... เพื่อ
    ต้องการที่อยากจะให้เป็น
    แอร์บ้าน
    อีกทางเลือกหนึ่งเมื่อท่าน
    จะเลือกซื้อ แอร์บ้าน
    ในครั้งต่ไป.


    รู้จักกับแอร์น้ำเย็น | HOME Repair Howto
    ป้ายกำกับ:
    การเลือกซื้อแอร์ ...
    ไม่ต้องต่อท่อประปาให้ยุ่ง
    ยาก การบำรุงรักษาพอ ๆ
    กับแอร์
    บ้านทั่วไปที่ระบายความร้อ
    นด้วยอากาศ ที่สำคัญ ...
    การดูแลเครื่องปรับอากาศ(แ
    อร์) ...

    ตอบลบ